วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553
จังหวัดของหนู(กาฬสินธุ์)
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นับเป็นเมืองโบราณอีกแห่งหนึ่ง โดยมีหลักฐานแสดงอารยธรรมเก่าแก่กว่า 1,600 ปี และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง
อาณาเขตติดต่อ
กาฬสินธุ์ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ จรด จังหวัดอุดรธานี และ จังหวัดสกลนคร
- ทิศตะวันออก จรด จังหวัดมุกดาหาร
- ทิศใต้ จรด จังหวัดมหาสารคาม และ จังหวัดร้อยเอ็ด
- ทิศตะวันตก จรด จังหวัดขอนแก่น และ จังหวัดมหาสารคาม
ประวัติ
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ในปี พ.ศ. 2336 บ้านแก่งสำโรงได้รับการสถาปนาเป็น เมืองกาฬสินธุ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากเจ้าโสมพะมิตรเข้าเฝ้าฯ ถวายสวามิภักดิ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งขึ้นเป็น "พระยาไชยสุนทร" เจ้าเมืองท่านแรกโดยให้รั้งเมืองสืบไป
เมื่อ พ.ศ. 2437 เมื่อพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) เป็นเจ้าเมือง มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มาเป็นรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด และมีอำนาจปกครองอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด โดยให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ต่อมาเกิดข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ การเงินฝืดเคือง จำเป็นต้องยุบจังหวัดต่าง ๆ ลงเพื่อให้สมดุลกับรายได้ของประเทศ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอรรถเปศลสรวดี เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม (แทนพระยามหาสารคามคณาภิบาลซึ่งออกรับบำนาญ) ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑล
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จนถึงปัจจุบัน
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพะยอม (Shorea roxburghii)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะหาด (Artoccarpus lacucha)
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
การศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์กาฬสินธุ์
- สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์)
สถาบันอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยการอาชีพหนองกุงศรี
- วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์
- โรงเรียนกาฬสินธุ์พาณิชยการ
- วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง
โรงเรียน
ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร
อาหารพื้นเมือง
ห้างสรรพสินค้า
- กาฬสินธุ์ พลาซ่า 1
- กาฬสินธุ์ พลาซ่า 2
- Fairy Supermaket
- Index Furniture Center สาขา กาฬสินธุ์
- Global House สาขา กาฬสินธุ์
สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน
อุทยาน
[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียง
- ครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน)ผู้เป็นต้นกำเนิดเครื่องดนตรี "โปงลาง" เครื่องดนตรีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
- บุญมี นามวัย นักร้องเพลงอิสาน หมอรำ และเพลงลูกทุ่ง "สาวนาสะอื้น"
- สมพงษ์ คุนาประถม (อี๊ด โปงลางสะออน) นักร้อง,ดารา-นักแสดง
- น่านฟ้า กาฬสินธุ์ นักร้อง,ดารา-นักแสดง
- นายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
- ธีรชาติ ธีราวิทยางกูร (อู๊ด เป็นต่อ) นักแสดง-ดารา
- ธนพล อินทฤทธิ์ (เสือ) ศิลปิน
นามสกุลพระราชทานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดกาฬสินธุ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)